การเลือกแบบม่าน

หน้าแรก ผ้าม่าน วอลเปเปอร์ การเลือกแบบม่าน

การเลือกแบบม่าน ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จักกับแบบม่านต่าง ๆ ก่อนที่จะตัดสินใจติดผ้าม่านลงบนหน้าต่างแสนสวยของบ้านเรากันก่อนดีกว่า เพื่อป้องกันความเจ็บปวดที่จะตามมา อันเนื่องมาจากการไปเดินซื้อ ม่านสำเร็จรูป มาแล้วไม่ได้ขนาดตามที่ต้องการ แต่ก็ต้องจำใจใช้ไปเพราะว่า การสั่งทำมันแพงจนเลือดซิบ หรือเลือกแบบม่านใส่ลงไปในห้องผิด เพราะม่านที่เลือกมันไม่เหมาะ หรือ ใช้งานไม่สะดวกเอาซะเลย หรือผ้าที่เลือกมาติดที่บ้านทำมั้ยทำไมพอติดออกมาแล้วสีมันถึงได้แสบตาขนาดนี้ในเวลากลางวัน จากการสอบถามบรรดาเจ้าของบ้านมา 40% ของเหล่าเจ้าของบ้านที่ตัดสินใจเลือก แบบม่านเอง โดยคำแนะนำของเจ้าของร้าน หรือ ดูในนิตยสารแล้วเห็นว่ามันสวยเลยอยากได้ ผู้ขายก็ไม่กล้าขัดใจท่าน เลยจัดให้ไป ปรากฎว่า พอทำออกมาแล้ว สวยแต่รูป แต่จูบไม่หอม เืนื่องจากไม่เหมาะกับการใช้งานเลย ผิดหวังแต่ทำยังไงได้ล่ะ จ่ายเงินไปแล้ว ถ้าแก้แบบรับรองไม่มีคำว่า "ฟรี" แน่นอน ต้องซื้อผ้าเพิ่มอีก หรือไม่ก็ตัดใหม่ ผ้าช้ำกันหมดพอดี ดังนั้นก่อนจะตัดสินใจ ลองพิจารณาแบบม่านต่างๆ ที่จะนำเสนอก่อนดีมั้ย ว่าม่านแต่ละแบบ มีข้อดี และ ข้อเสียอย่างไร เรามาเริ่มกันเลยนะครับ



++++ ม่านแบบ ต่าง ๆ ++++

ม่านแบบ BASIC

ม่านแบบนี้ มีให้เห็นอยู่ทั่วไปครับ มันคือม่านจีบนั่นเอง มีมาตั้งแต่บ้านเมืองเราเริ่มมีผ้าม่านเป็นครั้งแรกนั่นแหละครับ แต่ม่านแบบนี้สามารถดัดแปลง เพิ่มเติม แต่งนิดเติมหน่อย ก็เปลียนชื่อเรียกกันแบบใหม่แล้วครับ ไอ้ที่สาธยายมาเนี่ยอยากทราบแล้วใช่มั้ยล่ะครับว่ามันมีอะไรบ้าง เอาล่ะครับเริ่มกันซักที


1. ม่านจีบธรรมดา อันดับ 1 นำมาเลยครับสำหรับม่านแบบนี้ (ถ้าท่านอยากเห็นหน้าตา ให้เข้าดูหน้า PHOTO นะครับ) 100% ไม่ต่ำกว่า 90% ที่ตัดสินใจทำม่านแบบนี้ สาเหตุน่าจะมาจาก ไม่ค่อยสันทัดในเรื่องม่าน หรือ ไม่ค่อยมีเวลาในการค้นหาแบบม่าน หรือไม่ก็ไม่มีแบบให้ดู เลยตัดสินใจว่า ปลอดภัยไว้ก่อนดีกว่า แน่นอนที่สุด ถูกต้องครับ ม่านแบบนี้เป็นม่านที่ปลอดภัย เหมาะกับทุกสถานที่ และเป็นที่นิยมที่สุด แต่จะดีกว่ามั้ย ถ้าจะประดับประดา เพิ่มสีสัน ลวดลาย เข้าไปอีกนิดหน่อย เพื่อให้มันสวยงามมากขึ้น เพราะว่าไม่ว่าจะเป็นม่านแบบไหนก็ตาม ในตระกูลม่าน Basic นี้ ราคามันก็ไม่แต่งต่างจากเดิมมากนัก ก็แค่เพิ่มเงินในส่วนของค่าแรงตัดเย็บนิดหน่อยเท่านั้นเอง


2. ม่านจีบ ต่อ หัว หรือ ชายม่าน ม่านแบบนี้ เป็นการดัดแปลงมาจากม่านจีบธรรมดานั่นล่ะครับกล่าวคือ เป็นการนำเอาผ้าคนละสี หรือ ลายต่างกัน มาตัดเย็บต่อกัน บ้างก็ต่อในส่วนหัวม่าน บ้างก็ต่อในส่วนชายม่าน สวยไปอีกแบบนึง


2.1 วิธีการเลือกผ้าต่อหัว หรือ ชาย โดยมากในการเลือกผ้าที่จะนำมาต่อในส่วนนี้ มีพื้นฐานในการเลือกดังนี้ครับ

- ถ้าตัวม่านส่วนใหญ่ เป็นสีโทนอ่อน ให้เลือก ผ้าต่อเป็นสีโทนเข้ม

- ถ้าตัวม่านส่วนใหญ่ เป็นสีโทนเข้ม ให้เลือก ผ้าต่อเป็นสีโทนอ่อน

- ถ้าตัวม่านส่วนใหญ่ เป็นผ้าชนิดมีลาย ผ้าต่อ น่าจะเป็น ผ้าพื้นเรียบ นะครับ

- ในการ ต่อ ไม่จำกัดว่า จะต่อหัว หรือ ต่อชาย หรือ ต่อทั้งหัว และ ชายก็ได้ครับ มิผิดกติกา

- สีของผ้าต่อ ตามใจชอบเลยครับ เน้นที่ชอบ แต่น่าจะให้แมทซ์กันสักหน่อย นะครับ


3. ม่านจีบ มี กุ๊น การกุ๊นผ้าแตกต่างจากการต่อผ้านะครับ คือการกุ๊นผ้าจะเส้นเล็กกว่า และสามารถนำวัสดุอื่น มากุ๊นได้ ไม่มีข้อจำกัด สำหรับการกุ๊นครับ (กุ๊น คือ การนำ ผ้าหรืออุปกรณ์ในการตกแต่ง นำมาเย็บติดกับตัวผ้า โดยมีลักษณะเป็นเส้น ได้ทั้งแนวตั้ง และ แนวนอน) ชนิดของกุ๊นมีหลายแบบครับ ตั้งแต่ ประเภท Trimming สายสร้อย เชือก เทปผ้าชนิดต่าง ๆ หรือ แม้แต่ผ้าที่นำมาตัดเย็บ ก็ใช้ได้ครับ โดยการนำมาทำให้เป็นเส้น แล้วเย็บติดกับตัวม่านตามแบบที่ต้องการ

ลักษณะการกุ๊น

- กุ๊นบริเวณ ริมผ้าม่านทั้ง 2 ข้าง

- กุ๊นบริเวณ กลางผืนผ้าม่าน

- กุ๊นบริเวณ ชายม่าน หรือ หัวม่าน


ขอขอบคุณ: